เชือกเส้นเดียว เป็นพื้นที่ขยายความคิดที่เกี่ยวข้องพฤติกรรมมนุษย์โดยนำเอาเชือกและการผูกเงื่อนเชือกมาเป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบเพื่อแสดงให้เห็นมุมมองที่เป็นรูปธรรม บนนิยาม ROPE THINKKING เงื่อนเชือกที่ให้ความคิดอย่างอิสระบนปรัชญาของการหยั่งรู้ด้วยตนเองที่ไร้ขอบเขต เชือกเส้นเดียว เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบที่ผู้เขียนได้เป็นผู้วิเคราะห์และนำไปใช้ในการฝึกฝนทักษะกับผู้เข้าอบรมแล้วจนได้แนวทางเพื่อการถ่ายทอด
สัมพันธภาพบนความต่าง
พฤติกรรมของการแสดงออกต่อกันมีความสำคัญยิ่งในการอยู่ร่วมกันในองค์กร ด้วยความแตกต่างจะก่อกำแพงสูงให้คนจิตนาการในตัวตนของตัวเองไว้เป็นเบื้องต้น เช่น เราจบการศึกษาที่สูงกว่าย่อมเข้าใจงานได้ดีกว่า เราคือคนที่มาก่อนจึงต่อองค์กรจนขาดไม่ได้ เราคือผู้นำย่อมควรได้รับเกียรติ สื่งเหล่านี้จะก่อลักษณะการแสดงออกที่เป็นอุปสรรคในการเข้าหาเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี ไปจนถึงการพาภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรดิ่งลงเหว การยอมรับซึ่งกันและกันบนความแตกต่างเป็นเรื่องยากยิ่งแตกต่างมากยิ่งดูห่างไกลความสัมพันธ์ แต่ทุกอย่างมีข้อยกเว้นหากจิตใจที่เปิดกว้างยอมรับ และโอนอ่อนให้แก่กันบ้าง ขณะเดียวกันก็ต้องใช้ความพยายามเพื่อที่จะเรียนรู้และเข้าใจเทคนิควิธีที่เหมาะสม
...ความแตกต่างของผู้คนทั้งด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ หรือฐานะทางสังคมไม่ได้เป็นอุปสรรคของการผูกสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นหากแต่ละฝ่ายจะยอมอ่อนน้อมค้อมตนเปิดใจให้ที่ว่างของความสัมพันธ์ได้เกาะเกี่ยว แต่ความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นต้องผ่านกระบวนการคิดอย่างเข้าใจ ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน ไม่ยึดถือความเป็นตัวตนของตนเองเป็นสำคัญ
...เงื่อนเชือกขัดสมาธิ เป็นการต่อเชือก 2 เส้นเข้าหากันโดยเหมาะกับเชือกที่มีขนาดแตกต่างกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น